งานSTEMของอุอิ

STEM

บทที่ 1
บทนำ
1. แนวคิดที่มาและความสำคัญของโครงงาน
        การเพาะถั่วงอกเป็นอาชีพที่สำคัญของหลายครอบครัวในชุมชน เพราะถั่วงอกสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย กรรมวิธีการเพาะไม่ยุ่งยาก แต่มักพบการเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ ต้นออกมาไม่สวยเหมือนกันในการเพาะแต่ละครั้ง จากปัญหาดังกล่าว ในกลุ่มจึงนำมาคิดแก้ปัญหาโดยการประดิษฐ์เครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติขึ้น
2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
        2.1 เพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกถั่วงอก เช่น ขาดน้ำ น้ำเยอะเกินไป โดดแสงแดดจนตาย ไม่มีเวลาดูแล  2.2 เพื่อให้ได้ต้นถั่วงอกจากการเพาะทุกครั้งมีคุณภาพเหมือนกัน
        2.3 เพื่อนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจมาใช้ในชีวิตประจำวัน
3. ขอบเขตและข้อจำกัด
    โครงงานศึกษาค้นคว้า อุปกรณ์ในการทำชิ้นงานเพื่อเพื่อประสิทธิภาพในการเพราะถั่วงอก

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารเกี่ยวกับเมล็ดถั่วงอกและการเพาะปลูก
                ถั่วงอกสามารถปลูกได้หลายวิธีหลากหลายเมล็ดของถั่วที่สามารถปลูกถั่วงอก ถั่วที่สามารถนำมาปลูกถั่วงอกได้
                1ถั่วงอกหัวโตหรือถั่วเหลืองงอกใช้เวลาเพาะนานกว่าถั่วเขียวงอกมีกลิ่นถั่วและเนื้อกระดางกว่าถั่วเขียวงอกหัวแข็งและมัน ถั่วเหลืองงอกมีโปรตีนและไขมันสูง
                2 โต้วเหมียวเพาะจากถั่วลันเตาหวานกรอบรสเหมือนถั่วลันเตาใช้เวลาเพาะประมาณ 10 วันก็ได้ต้นอ่อนที่เก็บกินได้โต้วเหมียวมีวิตามิน และ C สูง
                3 ไควาเระเพาะจากเมล็ดหัวไชเท้ารสกรอบหวานซ่าเล็กน้อยมีวิตามิน A  Cและโปรแตสเซียมสูง ไควาเระนิยมใช้ร่วมกับถั่วและเมล็ดงอกอื่น ๆ
                4 อัลฟาลฟา(Alfalfa) เพาะจากถั่วลันเตาชนิดหนึ่งอัฟาลฟางอกนิยมใช้เป็นผักสลัดในตะวันตกมาก่อนและแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ อัลฟาลฟางอกมีโปรตีนและวิตามิน B สูง
                5 ถั่วแดงงอกเพาะจากถั่วแดง เพาะง่ายเหมือนถั่วเขียวงอก ถั่วแดงงอกมีหัวโต ช่วยให้หกรอบมัน
                6 ถั่วลิสงงอกกรอบอร่อยมีรสมัน ถั่วลิสงเพาะยากกว่าถั่วอื่น ๆ เพราะขึ้นราง่ายดังนั้นถึงแม้จะอร่อยมากแต่กลับมีคนเพาะขายน้อย
                7งางอก เพาะจากเมล็ดงาได้ง่ายรสกรอบและขมเล็กน้อยงางอกมีโปรตีนไขมันและแร่ธาตุสูง
                8เมล็ดทานตะวันงอกเพาะได้ง่ายโดยแกะเปลือกก่อน เมล็ดทานตะวันงอกมีกรดไขมันดีในประมาณสูง
การเพาะถั่วงอก
รูปแบบการเพาะถั่วงอกตัดรากและผลิตในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์   มาตรฐานไทยจากกรมวิชาเกษตร  เริ่มจากการเพาะถั่วงอกตัดรากไร้สารพิษในตะกร้าพลาสติกเพื่อใช้ในครัวเรือน  และใช้ในร้านอาหารต่อมาถั่วงอกตัดรากเป็นที่ต้องการในตลาดมากขึ้น ต้องเพาะเพิ่มปริมาณการผลิต ต้องการเพาะปลูกของเรานำไปทำอาหารกินเอง   ไม่ต้องไปซื้อตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง

บทที่3
วิธีการดำเนินงาน
อุปกรณ์
        1. ถัง      
        2. ตะกร้า         
        3. ผ้า      
        4. ขวดน้ำ        
        5. เชือก

        6. เมล็ดถั่วเขียว
        7. ธูป              
        8. ไฟแช็ก
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.นำถังซึ่งถังใบนี้ใบนี้ต้องมีหูหิ้วด้วยเพราะไว้สำหรับแควนหรือผูกขวดน้ำไว้สำหรับใส่น้ำเพื่อรดน้ำต้นถั่วเขียว
2. นำตะกร้าซึ่งต้องขนานเล็กกว่าถัง เพื่อใส่ในถังแต่ไม่ควรเล็กมากเกินไป
3.นำผ้าบางมารองไว้กันตะกร้าเพื่อป้องกันการตกหล่นของเมล็ดถั่วเขียวและกะน้ำไว้
4. ใส่เมล็ดถั่วเขียวตามาต้องการ
5. นำผ้าบางมาปิดบนปากถังเพื่อกันแสงแดด
6. เริ่มทำที่ใส่น้ำจากขวดพลาสติกคือนำถูปมาจุดไฟเพื่อเจาะรูขวดน้ำให้น้ำไหลหยดลงบนผ้า
7.นำขวดมาเจาะรูด้านข้างเพื่อจะร้อยเชือกข้างขวดกับหูหิ้วของถัง
8. ใส่น้ำแล้วผูกให้เรียบร้อยเพื่อเป็นการประหยัดพื้นที่ควรนำถังไปแขวนไว้ที่ร่มและน้ำจะหยดเองโดยอัตโนมัติไม่ต้องเสียเวลาให้น้ำ   ถ้าน้ำหยดลงบนผ้าและถั่วเขียวมากเกินไปน้ำจะลงไปที่ก้นถังเพื่อสำหรับลองรับน้ำจะทำให้ไม่เสียผลผลิตและคุ้มค่า เราสามารถนำน้ำที่หยดลงมาใช้ใหม่ได้

บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
โดยเครื่องปลูกถั่งงอกนี้จะเป็นระบบรดน้ำอัตโนมัติคือแค่เราใส่น้ำลงในขวดด้านบนน้ำก็จะหยดลงมาทีละหยดเรื่อยๆ  เราก็จะไม่ต้องเสียเวลารดน้ำเองน้ำให้เรามีเวลาทำอย่างอื่นมากขึ้นหรือช่วงเวลาที่เราไม่อยู่บ้านถั่งงอกก็จะได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ถั่วงอกของเราก็จะสวย
เวลา
การเจริญเติบโต
ปริมาณน้ำ
8 สิ.ค. 60
มีรากแก้ว
จาก 600 มิลลิลิตรเหลือ 400 มิลลิลิตร
9 สิ.ค. 60
มีใบเลี้ยงและใบเลี้ยงแท้และลำต้น
จาก 400 มิลลิลิตรเหลือ 200 มิลลิลิตร
10 สิ.ค. 60
มีใบแท้และลำต้นที่เจริญเติบโตสมบูรณ์
จาก 200 มิลลิลิตรเหลือ 0 มิลลิลิตร










บูรณาการ STEM
S   มีความรู้ในเรื่องการเพาะถั่วงอก ปัจจัยที่มีผลต่อการงอก  ศึกษาคุณสมบัติข้อดีข้อเสียของวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
T   วิธีการให้น้ำระบบอัตโนมัติ
E   การออกแบบและประดิษฐ์เครื่องเพาะถั่วงอก
 คำนวณปริมาณของถั่วเขียวและน้ำที่ต้องใช้ ให้เหมาะสมกับขนาดขวด ถังและตะกร้าที่ใช้ 
การนำไปใช้ให้ครอบคลุมหน่วยบูรณาการของกลุ่มสาระระดับชั้น ม.2

เรื่อง ลูกวรนารีในวิถีพอเพียง
หลักพอเพียง
พอประมาณ
- ปฏิบัติงานเหมาะสมกับวัยและศักยภาพของตนเอง
- รู้จักเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่าและพอเพียง
มีเหตุผล
- รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- เกิดทักษะการทำงาน – เลือกใช้ทรัพยากรอย่างมีเหตุผล
- มีแนวคิดในการตอบปัญหาและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

ภูมิคุ้มกัน
- รู้จักตนเอง และปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ
- ภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง
- รู้จักการวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบประหยัดและปลอดภัย
เงื่อนไขความรู้
เงื่อนไขความรู้ เราจะควบคุมปริมาณน้ำอยู่ที่ 600มิลลิลิตร เพื่อจะทำให้ต้นถั่วงอกนั้นเจริญเติบโตเต็มที่ เราพยายามลดปริมาณน้ำโดยนำเมล็ดถั่วเขียวไปแช่น้ำก่อนและนำเมล็ดถั่วเขียวมาปลูกโดยนำผ้าดำมาปิดแสงแดดเพื่อไม่ให้ต้นถั่วงอกโดนแสงจนตายและถังเมื่อเราลดน้ำต้นถั่วงอกจนหมดเราสามารถนำน้ำที่เหลือจากการปลูกที่อยู่ที่ก้นถังนำมาปลูกได้อีกรอบ
เงื่อนไขความรู้
มีความซื่อสัตว์ ขยัน อดทน รับผิดชอบต่องานที่ไดรับมอบหมาย มีความสามัคคีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และประหยัดอดออม

บทที่5
สรุปและอภิปรายข้อเสนอแนะ
เครื่องปลูกถั่วงอกเป็นเครื่องที่ช่วยรดน้ำเวลาที่เราไม่อยู่บ้าน ไม่เสียเวลาในการรดน้ำถั่วงอก ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดน้ำ ช่วยให้ปลูกถั่วงอกได้ในจำนวนมากและตามที่ต้องการ ซึ่งเราสามารถประดิษฐ์ได้เองที่บ้าน ทุกครอบครัว มีอุปกรณ์ไม่ยุ่งยาก หาได้จากสิ่งของเหลือใช้หรือของใช้ในบ้าน และได้ถั่วงอกที่มีคุณภาพดีปลอดสารพิษ


ประโยชน์ที่ได้รับ
1.  สามารถแก้ไขปัญหาการปลูกถั่วงอก เช่น ขาดน้ำ น้ำเยอะเกินไป โดดแสงแดดจนตาย ไม่มีเวลาดูแลได้
2.  ได้ต้นถั่วงอกจากการเพาะทุกครั้งมีคุณภาพเหมือนกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติส่วนตัวของอุอิ

อุอิ บิบิ